ภาพด่วนๆ

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บุญบั้งไฟ





         บุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี อ่านเพิ่ม

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล




" พระมหาเจดีย์ชัยมงคล " เป็นพระเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่งของประเทศไทย ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม โดยใช้งบประมาณสร้างถึง 3,000 ล้านบาท องค์พระมหาเจดีย์ก่อสร้างบนเนื้อที่ 101 ไร่ มีความกว้าง 101 เมตร ความยาว 101 เมตร และสูง 101 เมตร เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ดำเนินการสร้างโดย พระอาจารย์ศรี มหาวิโรซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ตัวองค์พระธาตุแบ่งเป็น 5 ชั้น
  • ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงสำหรับประชุมเอนกประสงฆ์
  • ชั้นที่ 2 เป็นที่ประชุมสงฆ์ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ เวสสันดรชาดก ทศชาติชาดก และปริศนาธรรม
  • ชั้นที่ 3 เป็นพระอุโบสถสำหรับทำสังฆกรรมต่าง ๆ รอบฝาผนังประดิษฐานรูปเหมือนและประวัติย่อของปรมาจารย์(พระเถระ) จำนวน 101 องค์
  • ชั้นที่4 เป็นพิพิธภัณฑ์
  • ชั้นที่ 5 บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
  • ชั้นที่ 6 และ 7 เป็นองค์เจดีย์รูประฆังและยอดฉัตร

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จับปอบ

ผีปอบ" มีต้นกำเนิดมาจากผู้ที่มีวิชา ไสยศาสตร์ มนต์ดำ

"ผีปอบ" มีต้นกำเนิดมาจากผู้ที่มีวิชา ไสยศาสตร์ มนต์ดำจนแก่กล้า สามารถใช้อำนาจอันเข้ม ขลังจากเวทมนตร์คาถาไปกระทำร้ายหรือทำลาย ชีวิตผู้อื่นได้ เช่น ทำ เสน่ห์ยาแฝด ฝังรูปฝัง รอยเสกหนังควาย เสกตะปูเข้าท้อง หรือใช้มนตราบังคับวิญญาณ ภูตผีไปเข้าสิง วิชาไสย ศาสตร์เหล่านี้มีข้อห้าม ข้อปฏิบัติกำกับอยู่ด้วย ผู้ที่มีวิชาอาคมทางไสยศาสตร์ซึ่งพระ พุทธเจ้า ทรงระบุว่า เป็นเดียรฉาน วิชา จะต้องระวังไม่ให้ละเมิด ข้อห้าม ข้อปฏิบัติโดยเด็ดขาด หากกระ ทำผิด ข้อห้าม ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า "คะลำ" ก็จะเกิดโทษหนักในข้อ "ผิดครู" วิญญาณบรมครู จะลงโทษ ให้กลายเป็น ปอบ หรืออีกประการหนึ่งของผู้ที่ กลายเป็นปอบก็คือ เล่น คาถาอาคม อย่างคลั่งไคล้ และใช้ความขลังแห่งวิชา มนต์ดำไปทำลาย ทำร้ายผู้อื่นอย่างไม่กลัว บาปกลัว กรรมกระทำชั่วเป็นอาจิณกรรม กระทั่งถูกอาถรรพณ์ของไสยเวทย์ย้อนกลับมาเข้าตัวเองกลาย เป็น ปอบไปในที่สุด
ผีปอบ" ยังแบ่งออกเป็นหลายประเภท

- "ปอบ ธรรมดา" หมายถึงคนที่มีปอบสิงอยู่ใน ร่าง (คือตนเองเป็นปอบ ) เมื่อคนประเภทนี้ตายไป ปอบที่สิงสู่อยู´´ก็จะ ตายตามไปด้วย

- "ปอบเชื้อ" หมายถึงครอบครัวใดพ่อแม่เป็นปอบเมื่อพ่อแม่ตายไปลูก หลานก็จะสืบทอดให้ เป็นปอบต่อไป อีกประการหนึ่งเป็นกรรมพันธุ์ไม่ว่า จะเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม เรียกว่า เป็นปอบต่อเนื่องกันไปไม่รู้จบ

- "ปอบแลกหน้า" หมายถึง ปอบเจ้าเล่ห์ถนัดเอาความ ผิดไปโยนให้ผู้อื่น กล่าวคือเวลาไปเข้าสิงใคร เมื่อถูกสอบ ถามว่ามีผู้ใดเลี้ยงหรือบังคับ ปอบ จะไม่บอกความจริงหากไปกล่าวโทษว่าเป็นคนนั้นคนนี้โดยที่ผู้ถูกระบุชื่อ ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร เลย

- ปอบกักกึก (กึก ภาษาอีสานแปลว่า "ใบ้") หมายถึงปอบที่ไม่ยอมพูดอะไรเวลามีคน ถาม จนกว่าญาติพี่น้องจะไปตามหมอผีมาขับไล่ จึงจะยอมเปิดปากพูดว่าตนเป็นปอบของ ใครมีใครใช้ให้มา เข้าสิง ผู้ที่ถูกผีปอบเข้าสิงหรือที่ชาวอีสานเรียกว่า "ปอบเข้า" จะมีอาการแตกต่างกันไป บางคนแสดงกิริยาอาการ ดุร้ายบางคนจะนอนซมซึมคล้ายกับป่วยไข้อย่างหนัก บางคนจะ ร่ำไห้รำพันไปต่างๆ นานา แต่ไม่ว่าจะมีทีท่า อาการอย่างไร
ลักษณะผู้ที่ถูกปอบเข้าสิง

- ผู้ที่ถูกปอบเข้าสิงจะเรียกร้องให้ นำอาหารสุกๆ ดิบๆ พวกหมูตับไก่ต้มมากิน เหมือนๆ กับเวลา กินก็แสดงความตะกละมูม มามและกินได้จุผิดปกติเมื่อญาติพี่น้องรู้ว่าคนป่วยถูกปอบเข้าสิง เขาก็จะไปตามหมอ ผีให้มาไล่ปอบ การไล่ปอบให้ออกจากร่างมีหลายวิธีตามแนวทางที่หมอผีได้ร่ำเรียนมา บางคนจะเอาพริกแห้ง มาเผา ให้ควันรม คนป่วยจนสำลักควันน้ำตาไหลพาก ครั้นปอบ ออกจากร่าง แล้วหมอผีจะข่มขู่สอบถามว่าผีปอบเป็นใครมาจากไหน เมื่อปอบรับสารภาพ หมอผีก็ จะปล่อยไป คนป่วยได้สติหายเป็นปกตินัยน์ตาที่แดงก่ำเนื่องจากถูกควันพริกเผา รมจะหายไปทันที แต่เจ้าของ ปอบกลับมีอาการนัยน์ตาแดงก่ำด้วยสายเลือดจนต้องหลบ หน้าอยู่แต่ในห้องไม่กลัวให้ใครพบหน้า อีกวิธีหนึ่งที่ วิธีไล่ผีปอบ

หมอผีทั่วไปนิยมใช้ไล่ผี คือใช้หวาย เฆี่ยนไล่ปอบซึ่งก็เท่ากับเฆี่ยนคนป่วยนั่นแหละหากปอบกล้าแข็งหมอผีจะ เฆี่ยนหนักๆ กระทั่งเนื้อตัวคนที่ถูกปอบเข้าสิงเขียวช้ำด้วยรอยหวาย เมื่อปอบยอมแพ้ออกจากร่างไป ร้อยหวายก็ จะจางหายไปทันที แต่วิธีไล่ผีปอบแบบนี้เคยเป็นเรื่องเป็นข่าวมาแล้ว
- เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้ถูกปอบเข้าสิง หากป่วยเป็นโรคประสาท ญาติคิดว่าปอบ เข้าจึงไปตามหมอผีมาไล่ หมอผีจัดการเฆี่ยนคนป่วยด้วยหวายได้รับบาดเจ็บบอบช้ำจน หลายครั้งหลายหน โดยคิดว่าปอบฮึดสู้ไม่ยอม แพ้ในที่สุดคนป่วยก็เสียชีวิตร้อนถึงตำรวจ ต้องมาจัดการกับหมอผีและญาติตามกฎหมายและหมอผีคงคิดคุก ติดตะรางไปตามระเบียบ

- อีกวิธีหนึ่งหมอผีจะนำสัตว์น่าเกลียดน่ากลัวบางชนิดมา ข่มขู่ให้ปอบกลัวเช่น คางคก ตุ๊กแก งู ในกรณีนี้ คนที่ ถูกปอบเข้าสิงมักจะเป็นผู้หญิงหรือตัวปอบเป็นหญิง แม้จะเป็นผีปอบ (เธอ) ก็ยังขยาดแขยงสัตว์ประเภทนี้ และ มักจะยอมออกจากร่างที่ เข้าสิงง่าย ๆ

- ผีปอบที่แก่กล้าเวลาเข้าสิงใครจะอกยาก กล่าวกันว่าใครที่ผีปอบประเภทนี้ เข้าสิงมักจะถูกปอบสิงจนตาย เมื่อหมอผีดำเนินการไล่ผีปอบจากร่างที่ถูกปอบสิงมี ข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือ จะปรากฏเป็นก้อนกลมอยู่ใต้ ผิวหนังปูดนูนขึ้นมา เวลา หมอผีจี้อ้อนกลมๆนี้ด้วยไพลเสก มันจะเลื่อนหนีได้ และเมื่อก้อนกลมๆนี้หายไปหมอ ผีที่มีวิชาอาคมยังไม่เก่งนักมักคิดว่าปอบออกไปแล้ว แต่ที่แท้จริงๆ ปอบมันจะเลื่อน หนีไปซ่อนตามซอกขาหนีบ หรืออวัยวะเพศ ทำให้หาไม่พบ วิธีสำหรับหมอผีรุ่นครู

- สำหรับหมอผีรุ่นครูจะจู่โจมเข้ามัดข้อมือ ข้อเท้าและรอบคอ ด้วยด้าย สายสิญจน์เพื่อไม่ให้ปอบหนีออกจาก ร่าง จากนั้นก็จะใช้ไพลเสกจี้ลงไปที่ก้อนกลมๆ ใต้ผิวหนัง เรียกว่าก้อนกลมนี้หนีไปที่ใดก็จะตามจี้ไม่ยอมปล่อย เวลาที่ถูกไพลเสกจี้ ทางอีสานเรียกว่า "แทง" ปอยจะเจ็บปวดทรมานแสนสาหัส (คนที่ถูกปอบสิงจะร้องโอด ครวญดังลั่น) หมอผีจะขู่บังคับให้บอกว่าเป็นใคร ซึ่งปอบมักจะยอมสารภาพโดยดี หลังจากทรมานปอบให้หวาด กลัวเข็ดหลาบแล้ว หมอผีจึงจะแก้มัดด้วยด้ายสายสิญจน์ ปล่อยให้ปอบออกไป หมอผีบางรายมีวิธีไล่ปอบชนิดดุเดือด ให้คนเป็นปอบอับอายขายหน้าเป็นที่เปิดเผยแก่ สาธารณชนทั่วไป โดยหมอผีจะไปหาหม้อดินของแม่ม่ายที่มีเขม่าควันไฟจับหนามา แล้วเอาหม้อดินครอบศีรษะคนถูกปอบสิง ใช้มีดโกนขูดเขม่าควันไฟ คล้ายกับโกนผมให้ หมดไปครึ่งศีรษะ จากนั้นปล่อยให้ปอบออกจากร่าง วิธีการ ไล่ปอบแบบนี้จะทำให้ผู้เป็น ปอบหรือเลี้ยงปอบไว้ต้องหลบซ่อนอยู่แต่ในห้อง หรือเวลาออกนอกห้องไปไหน มาไหน ต้องใช้ผ้าคลุมศีรษะตลอดเวลา เนื่องจากเส้นผมแหว่งหายไปครึ่งศีรษะ

สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ

ชื่อ: น้ำตกทีลอซู
ที่ตั้ง: ตาก, ภาคเหนือ


ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก ติดอันดับ 1 ใน 6 ของโลก


ชื่อ: อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
ที่ตั้ง: อุบลราชธานี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ






ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ครอบคลุมพื้นที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทรมีพื้นที่ติดกับประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดน มีพื้นที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขา มีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีหินทรายลักษณะแปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน

วัดร่องขุ่น

  (Wat Rong Khun) ออกแบบและก่อสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จากเดิมมีเนื้อที่ 3 ไร่ ได้ซื้อที่ดินเพิ่มและมีผู้บริจาคคือคุณวันชัย วิชญชาคร จนปัจจุบันมีเนื้อที่ 9 ไร่ และมีพระกิตติพงษ์ กัลยาโณ รักษาการเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน