ภาพด่วนๆ

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

กระบวนพยุหยาตราชลมารค


กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค[1] เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา เรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวงลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยา
ประเภทของการเห่เรือ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ การเห่เรือหลวง (การเห่เรือในงานพระราชพิธี) และ การเห่เรือเล่น (การเห่เรือเล่นของชาวบ้านในงานต่างๆ) ในปัจจุบันการเห่เรือ ยังคงอยู่เฉพาะ การเห่เรือหลวง ที่ใช้ใน กระบวนพยุหยาตราชลมารค

ผีตาโขน



ประเพณีแห่ผีตาโขน เรียก "งานบุญหลวง" หรือ "บุญผะเหวด" ในเดือน เจ็ด ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

ต้นกำเนิดผีตาโขน

        ที่มานั้นไม่ชัดเจน แต่กล่าวกันว่าเป็นประเพณีที่ใกล้เคียงกับการบูชาบรรพบุรุษของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง (ในอดีตแนวเขตแดน ด่านซ้าย เชียงคาน และหล่มเก่า เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของอาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง) ในอีกที่มาหนึ่งกล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน

ชนิดของผีตาโขน

        ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก
ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2 ตัว คือผีตาโขนชาย1ตัวและหญิง1ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจนที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำ การทำก็ต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี
ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน

การแต่งกายผีตาโขน

ภาพ:ผีตาโขน4.jpgภาพ:ผีตาโขน2.jpgภาพ:ผีตาโขน3.jpgภาพ:ผีตาโขน5.jpg
        ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ เครื่องแต่งกายของผีตาโขน ส่วนใหญ่มักประกอบด้วย
ส่วนหัวหรือที่เรียกว่าหน้ากากนั้น ทำด้วย "หวด" หรือภาชนะที่ใช้นึ่งข้าวเหนียว ซึ่งเป็นส่วนด้านบนดูคล้ายหมวก ส่วนหน้านั้นทำจากโคนก้านมะพร้าว นำมาตัดปาดให้เป็นรูปหน้ากากและเจาะช่องตา จมูกนั้นทำจากไม้เนื้ออ่อน แกะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของผู้สร้างสรรค์ โดยทำเป็นลักษณะยาวแหลมคล้ายงวงช้าง ส่วนเขานั้นทำจากปลีมะพร้าวแห้ง โดยนำส่วนประกอบต่าง ๆ มาเย็บติดเข้าไว้ด้วยกัน และทาสีสันวาดลวดลายไปบนด้านหน้าของหน้ากากนั้น ๆ หลังจากนั้นจะเย็บเศษผ้าติดไว้บริเวณด้านบน(หลัง) เพื่อให้คลุมส่วนคอของผู้ใส่ไปจนถึงไหล่
ด้านเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย นั้น เป็นชุดที่ทำจากเศษผ้านำมาเย็บติดกัน และมี "หมากกะแหล่ง" หรือกระดิ่ง (คล้ายกับที่แขวนคอโค, กระบือ) แขวนผูกไว้บริเวณเอว เพื่อให้เกิดเสียงดังเป็นจังหวะเวลาเดิน และส่ายสะโพก
ส่วนประกอบสุดท้าย คือ ดาบหรือง้าว ที่จะทำจากไม้เนื้ออ่อน ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน

การละเล่นผีตาโขน

ภาพ:ผีตาโขน1.jpg
        เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมีการละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติ มีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวม ๆ กัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน
วันแรก เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาสบริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด(พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้เกิดความสุขสวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อันเชิญต้องกล่าวพระคาถาและให้อีกคนลงไปในน้ำ งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมา ถามว่า “ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่” ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า “ไม่ใช่” พอก้อนหินก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า “ใช่ นั่นแหละพระอุปคุตต์ที่แท้จริง” เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พาน แล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัด ซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรืออยู่ตามที่ต่างๆก็จะมาร่วมขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำ เข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแร่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัวหรือกระดิ่งให้ดังเสียงดัง
วันที่สอง เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตามด้วย เจ้าพ่อกวน นั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้าน และเหล่าผีตาโขน เดินตามเสด็จไปรอบเมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออกให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่
วันที่สาม เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆของปีมารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชนจะมานั่งฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัย เพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิต
        งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ถือเป็นงานที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอันดีงามที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

ยิ้มสยาม


ยิ้ม
เห็นนางแย้มเหมือนหนึ่งแก้มแม่แย้มยิ้ม        ดูเพราพริ้มสุดงามทรามสงวน
          อบเชยเหมือนพี่เชยเคยชมชวน          ให้นิ่มนวลนอนแนบแอบอุรา
                                                                                                นิราศพระแท่นดงรัง (นายมี)

ยิ้มสยาม  คือคำว่า ยิ้ม เชื่อมกับ คำว่า สยาม ให้เป็นศัพย์เดียวที่แปลความหมายได้ว่า การยิ้มของคนสยาม/ไทย ซึ่งเมื่อเผชิญปัญหาหรือเจออะไรก็ยิ้มไว้ก่อน

       สยามเมืองยิ้ม และ ยิ้มสยาม เป็นคำแทนความหมายที่ใช้ในการโปรโมตต์การท่องเที่ยวในลักษณะ ทัวร์ลิตต์และ เพรสทัวร์  อาจรวมทั้ง ทัวร์ซำเหมา ซึ่งเริ่มปรากฏเป็นรูปธรรมหลังแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ใน สมัยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา หรือหลังยุค ผู้ใหญ่ตีกลองประชุมเป็นต้นมา โดยผ่านสื่อกลางอย่าง อนุสาร อสท. ของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
         

การท่องเที่ยวที่เน้นลักษณะ รอยยิ้ม ที่ดูเป็นการทอดไมตรีการบริการเพื่อเอาใจลูกค้า ลูกทัวร์ ที่มาบริการ ยิ้ม  จึงไม่ใช่จำกัดเฉพาะคนสยามประเทศไทยเท่านั้น แต่มีลักษณะทั้งอุษาคเนย์ หรือทั่วโลกก็ว่าได้

การแข่งขันเรือยาว


ประวัติความเป็นมา
           ในอดีตการปกป้องรักษาบ้านเมือง นอกจากมีกำลังพลกองทัพบกแล้ว กำลังพลกองทัพเรือ ก็มีความสำคัญในการรักษาเอกราชของชาติ ตั้งแต่สมัย  กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กำลังรบทางเรือในลำน้ำ แม่น้ำลำคลอง ใช้เรือพายเป็นหลัก การรบจะเรือพายเข้ามาชิดเรือข้าศึก และฝีพาย ซึ่งเป็นกำลังรบด้วย จะทำการเข้าประชิดตัวข้าศึก ทำการรบพุ่งกับข้าศึก. ดังนั้นเรือพายจึงเป็นกำลังหลักทางน้ำ ในยามบ้านเมืองสงบปราศจากข้าศึก กองทัพเรือได้ทำเรือพายมาใช้ในการแข่งขันกีฬา เช่น การเล่นเพลาเรือ พระเพณีพรและประเพณีแข่งเรือ

ประเพณีแข่งเรือ เป็นประเพณีหน้าน้ำของคนไทย เป็นการละเล่นในยามน้ำหลากที่สืบทอดมาแต่โบราณ และมักมีการแข่งเรือควบคู่ไปกับการทำบุญ ปิดทอง ไหว้พระและงานกฐิน ช่วยสร้างบรรยากาศให้งานบุญครึกครื้นขึ้น
ประเพณีแข่งเรือ เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยในชนบทถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้น้ำ ในช่วงเดือนสิบเอ็ดและเดือนสิบสอง ชาวบ้านเว้นว่างจากการทำไร่ทำนา เป็นโอกาสที่หนุ่มสาวได้พบปะเกี้ยวพาราสีกัน ได้เห็นฝีไม้ลายมือของชายอกสามศอก ได้เห็นความสามัคคีพร้อมเพรียงของเหล่าหนุ่มฝีพาย การแข่งเรือมักมีการเล่นเพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงครึ่งท่อน และสักวาโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวหลังการแข่งเรือ เป็นกรใช้ฝีปากไหวพริบและความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน โต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน ได้แสดงความสามารถทั้งหญิงและชาย ผู้ดูมีทั้งอยู่บนตลิ่ง และที่พายเรือกันไปเป็นหมู่ ต่างสนุกสนานกันทั่วหน้า
เรือแข่งที่แถบชาวบ้านลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใช้แข่ง เรียกเรือยาว ซึ่งทำจากท่อนซุงทั้งต้น การต่อเรือยาวต้องใช้ความรู้ ความชำนาญมาก จึงจะได้เรือที่สวยและแล่นได้เร็วเวลาพาย
ปัจจุบันประเพณีการแข่งเรือยังมีเหลืออยู่บ้างไม่มากเหมือนสมัยก่อน เพราะวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่เราไม่ค่อยจะได้ยินเสียงเพลงเห่เรือของฝีพายและของชาวบ้าน กลับได้ยินเพลงลูกทุ่งแทน เพราะขาดผู้รู้คุณค่าและความสนใจที่จะรักษาไว้ จึงไม่ได้สนับสนุนผู้มีความรู้ความสามารถในการเห่เรือ ให้สืบทอดประเพณีนี้ต่อมา เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานราชการ และเอกชนบางแห่ง เล็งเห็นคุณค่าของประเพณีแข่งเรือ จึงได้จัดให้มีการแข่งเรือขึ้นในหลายๆท้องถิ่นที่อยู่ริมน้ำ ซึ่งประสบผลสำเร็จ ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติมากมาย

เรือนไทย


เรือนไทย คือบ้านทรงไทย มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาค โดยสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยสมัยก่อนและแสดงออกถึงภูมิปัญญาไทย ทั้งนี้องค์ประกอบที่มีผลต่อรูปแบบเรือนไทยมีทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อและศาสนาในแต่ละภูมิภาค โดยหลักๆ จะแบ่งเป็น

มวยไทย


.มวยไทยนับเป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติอย่างหนึ่งที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น อาจกล่าวได้
ว่ามวยไทยนั้นเกิดพร้อมกับชาติไทยเลยก็ว่าได้ในเบื้องแรกนั้นการฝึกฝนมวยไทยก็เพื่อจะใช้
ต่อสู้กับข้าศึกศัตรูเมื่อบ้านเมืองสงบร่มเย็นชาวไทยก็หาได้ว่างเว้นจากการฝึกมวยไทยเพียงแต่
เปลี่ยนจากการฝึกเพื่อประกอบการทำสงครามมาฝึกเพื่อการแข่งขันและแสดงศิลปะการต่อสู้
ในโอกาสต่างๆในระวัติศาสตร์มวยไทยนั้น เรื่องที่มักกล่าวขานต่อๆกันมา ได้แก่เรื่อง
ของพระเจ้าเสือ และนายขนมต้ม...


...พระเจ้าเสือทรงโปรดปราน ศิลปะมวยไทยอย่างยิ่งยวด พระองค์ทรงใช้พระนามแฝงและ
ปลอมแปลงพระองค์เป็นสามัญชนไปแข่งขันชกมวยกับข้าราชการบริพารอยู่เนืองๆ สำหรับ
นายขนมต้มเป็นเชลยศึกที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่พม่าสมัยกรุงศรีอยุทธยานายขนมต้มต่อสู้กับ
พม่าด้วยมือเปล่า และสามารถล้มพม่าได้ถึงเก้าสิบคนจนกษัตริย์พม่าเอ่ยชื่นชมว่า "มวยไทยนี้
พิษสงรอบตัวนักแม้มีเพียงมือเปล่าก็สามารถเอาชนะศัตรูได้นับสิบ"นอกจากมวยไทยจะใช้หมัด
เท้า เข่า ศอกเป็นอาวุธประจำตัวแล้ววิธีเพิ่มพิษสงของมวยไทยวิธีหนึ่ง ก็คือการใช้ผ้าดิบหรือ
เชือกชุบแป้งให้แห้งแข็งนำมาพันรอบหมัดให้เกิดเป็นปุ่มคมแข็ง ที่เรียกว่า "มวยคาดเชือก"
เมือสัมผัสคู่ต่อสู้เพียงเฉียดๆก็อาจทำให้เลือดตกยางออกได้ และยังมีการคิดค้นฝึกฝนท่าทาง
การต่อสู้ที่ผสมผสาน การใช้หมัด เท้า เข่า ศอก เรียกว่า "แม่ไม้มวยไทย" แม่ไม้มวยไทยนี้
แล้วแต่ครูมวยจะคิดค้นดัดแปลงขณะนี้ ไม่น้อยกว่าร้อยกล เมื่อคิดได้แล้วก็ตั้งชื่อให้จำง่าย
ส่วนใหญ่มักจะสัมพันธ์กับวรรณคดีเอกเรื่อง "รามเกียรต์" หรือสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว เช่น
นางมณโฑนั่งแท่น กวางเหลียวหลังเป็นต้น

แฝดสยาม


 ฝาแฝดติดกัน (Conjoined twins) คือ แฝดผู้มีร่างกายติดกันมาแต่กำเนิด เกิดขึ้นเมื่อ ไซโกท พยายามแบ่งตัวเป็นแฝด แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ฝาแฝดติดกัน มีโอกาสในการเกิดจาก 1 ใน 200000 คน ซึ่งฝาแฝดตัวติดกันมีโอกาสมีชีวิตรอดน้อยมาก โดยประมาณร้อยละ 5 ถึง 25 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง (ประมาณร้อยละ 70 - 75)
ฝาแฝดตัวติดกัน ที่มีชื่อเสียงรู้จักที่สุด คือ อิน และ จัน บุนเกอร์ ฝาแฝดชาวจีน ที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งได้เดินทางไปแสดงโชว์ที่ บอสตัน, สหรัฐอเมริกา เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "แฝดสยาม" (Siamese Twins) โดยมีที่มาจากฝาแฝดไทยผู้เกิดในสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งมีชื่อว่าอินและจัน

ว่าวไทย



ว่าว เป็นกีฬาที่สนุกสนานอย่างหนึ่ง นิยมเล่นกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณในฤดูร้อน หรือหน้าลมว่าวประมาณเดือนมีนาคมของทุก ปี การเล่นว่าวของคนไทยถือว่าเป็นการแข่งขันกีฬา พื้นเมือง การต่อสู้ใช้ความสามารถ ไหวพริบ และกำลังความฉับไวในการชัก เอาชนะด้วยกระแสแรงลมที่พัด เพื่อให้ว่าวกินลมว่าวที่รู้จักกันดีตามพื้นบ้านทั่วไป คือ ว่าวอีลุ้ม ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย

        ว่าว เป็นของเล่นชนิดหนึ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ลอยอยู่ในอากาศได้ด้วยแรงลมและมีสายป่านคอยบังคับให้ลอยอยู่ในทิศทางที่ต้องการ โดยเริ่มจากประเทศจีนโดยใช้ไม้ไผ่และผ้าไหมเป็นอุปกรณ์ ต่อมาได้ประดิษฐ์ว่าวในหลายรูปแบบตามวัฒนธรรมของหลายประเทศ
  ในอดีตมีกล่าวอยู่ในพงศาวดารเหนือว่า พระร่วงทรงเล่นว่าวอย่างไม่ถือพระองค์ว่าเป็นท้าวพระยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 – 2300) ก็มีการเล่นว่าวกันมากถึงกับมีกฎมณเฑียรบาลห้ามมิให้ประชาชนเล่นว่าวทับพระราชวัง ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีการเล่นว่าวดังเช่นในสมัย ก็มีการเล่นว่าว เช่นในรัชกาลที่ 5 ก็ทรงโปรดให้ใช้สถานที่ในพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่าเป็นที่เล่นว่าวจุฬากับปักเป้า เป็นต้น ว่าวของไทยที่ทำขึ้นเล่นกันเป็นพื้นมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ ว่าวอีลุม ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา และว่าวตุ๋ยตุ่ย

        ว่าวคือ เครื่องเล่นรูปต่างๆ มีไม้เบาๆเป็นโครงแล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบางๆ ปล่อยให้ลอยตามลมขึ้นไปในอากาศโดยมีสายเชื่อหรือป่านยึดไว้

        ว่าวมีเล่นกันในหลายประเทศทั้งในจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และยุโรป ในอดีตที่ผ่านมาการเล่นว่าวเป็นไปเพื่อความบันเทิงและเป็นความเชื่อทางศาสนา ประเพณี หรือ การใช้ประโยชน์อย่างอื่นด้วยแต่ในปัจจุบันเป็นเพียงการละเล่น หรือกีฬาเพื่อความสนุกสนามและเพื่อพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น

        คนไทยรู้จักการเล่นว่าวมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และนิยมเล่นกันแพร่หลายในสมัยอยุธยา M.dela Loubere กล่าวไว้ว่า ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ปรากฏในท้องฟ้าทุกคืนตลอด ระยะเวลา 2 เดือน ของฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้

        ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็นิยมเล่นว่าวกันมาก โดยเฉพาะรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และในรับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนกีฬาเล่นว่าว มีการประกวดและแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้า โดยมีกติกาการแข่งขันเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้การแข่งขันยุติธรรมและสนุกสนามยิ่งขึ้น สถานที่เล่นว่าวในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เป็นที่รู้จักกันดีมาแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน คือสนามหลวง ส่วนในต่างจังหวัดก็นิยมเล่นกันตามที่โล่งกว้างหรือตามท้องนาทั่วไป

แหล่งท่องเที่ยวที่สูงที่สุดในประเทศไทย


"อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่"


มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
ในวันที 13 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2521 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้ประกาศให้ดอยอินทนนท์เป็นอุทยานแห่งชาติ
สภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่
สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล
ดอยอินทนนท์ นี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยซึ่งพาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

บั้งไฟพญานาค

บั้งไฟพญานาค หรือ บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ยังไม่สามารถหาคำอธิบายที่ชัดเจนได้ โดยมีลักษณะเป็นลูกไฟสีชมพู ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นเหนือลำน้ำโขง มีตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร แล้วพุ่งขึ้นไปในอากาศสูงประมาณ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที โดยจะเกิดปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ในช่วงวันออกพรรษา หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินลาว ซึ่งอาจตรงกับวันแรม 1 ค่ำ หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของไทย โดยแต่ละปีจะปรากฏขึ้นประมาณ 3-7 วัน
มากกว่า 90% ของจำนวนลูกบั้งไฟพญานาคในแต่ละปี จะพบที่
จังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ โดยในจังหวัดหนองคายจะพบที่หน้าวัดไทย และบ้านน้ำเป อำเภอรัตนวาปี วัดหินหมากเป้ง และอ่างปลาบึก อำเภอสังคม ส่วนที่จังหวัดบึงกาฬจะพบที่วัดอาฮง อำเภอเมืองบึงกาฬ
ผู้ศึกษาปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคหลายกลุ่ม พยายามอธิบายที่มาของปรากฏการณ์นี้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น คาดว่าอาจจะเป็นก๊าซมีเทน-ไนโตรเจน หรือ ฟอสฟอรัส ที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ใต้น้ำ
นอกจากประเทศไทยแล้ว ที่อื่น ๆ ในโลกก็มีรายงานการพบปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เช่นกัน เช่นที่ มลรัฐมิสซูรี และ มลรัฐเท็กซัส ของสหรัฐอเมริกา โดยเรียกกันว่า แสงมาร์ฟา (Marfa lights) นอกจากนี้ยังพบที่เมืองเจดด้าห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ริมฝั่งทะเลแดง
ลักษณะ
การเกิดบั้งไฟพญานาค ลูกไฟจะเอนเข้าหาฝั่ง หากขึ้นกลางแม่น้ำโขง แต่หากขึ้นริมฝั่ง ลูกไฟจะเอนออกไปกลางโขง ลักษณะเป็นดวงไฟขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ ไปจนถึงขนาดเท่าไข่ห่านหรือผลส้ม มีสีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น หรือสีแดงทับทิม ไม่มีควัน ไม่มีเขม่า ไม่มีเปลว ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น
โดยบั้งไฟพญานาคจะเริ่มปรากฏจากเหนือผิวน้ำ ตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร พุ่งสูงขึ้นไปประมาณระดับ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที แล้วจะดับหายวับไปในอากาศ ทั้งๆ ที่ดวงไฟยังโตอยู่ มิได้หรี่เล็กลงแล้วค่อยๆ ดับ และไม่มีลักษณะโค้งตกลงมาเหมือนดอกไม้ไฟ ซึ่งปรากฏการณ์การเกิดบั้งไฟพญานาคนี้ได้มีนักวิทยาศาสตร์ศึกษาวิจัยหลายต่อหลายท่าน แต่ก็ยังไม่พบข้อสรุปที่ชัดเจน[

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บุญบั้งไฟ





         บุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี อ่านเพิ่ม

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล




" พระมหาเจดีย์ชัยมงคล " เป็นพระเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่งของประเทศไทย ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม โดยใช้งบประมาณสร้างถึง 3,000 ล้านบาท องค์พระมหาเจดีย์ก่อสร้างบนเนื้อที่ 101 ไร่ มีความกว้าง 101 เมตร ความยาว 101 เมตร และสูง 101 เมตร เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ดำเนินการสร้างโดย พระอาจารย์ศรี มหาวิโรซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ตัวองค์พระธาตุแบ่งเป็น 5 ชั้น
  • ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงสำหรับประชุมเอนกประสงฆ์
  • ชั้นที่ 2 เป็นที่ประชุมสงฆ์ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ เวสสันดรชาดก ทศชาติชาดก และปริศนาธรรม
  • ชั้นที่ 3 เป็นพระอุโบสถสำหรับทำสังฆกรรมต่าง ๆ รอบฝาผนังประดิษฐานรูปเหมือนและประวัติย่อของปรมาจารย์(พระเถระ) จำนวน 101 องค์
  • ชั้นที่4 เป็นพิพิธภัณฑ์
  • ชั้นที่ 5 บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
  • ชั้นที่ 6 และ 7 เป็นองค์เจดีย์รูประฆังและยอดฉัตร