ภาพด่วนๆ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

บั้งไฟพญานาค

บั้งไฟพญานาค หรือ บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ยังไม่สามารถหาคำอธิบายที่ชัดเจนได้ โดยมีลักษณะเป็นลูกไฟสีชมพู ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นเหนือลำน้ำโขง มีตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร แล้วพุ่งขึ้นไปในอากาศสูงประมาณ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที โดยจะเกิดปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ในช่วงวันออกพรรษา หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินลาว ซึ่งอาจตรงกับวันแรม 1 ค่ำ หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของไทย โดยแต่ละปีจะปรากฏขึ้นประมาณ 3-7 วัน
มากกว่า 90% ของจำนวนลูกบั้งไฟพญานาคในแต่ละปี จะพบที่
จังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ โดยในจังหวัดหนองคายจะพบที่หน้าวัดไทย และบ้านน้ำเป อำเภอรัตนวาปี วัดหินหมากเป้ง และอ่างปลาบึก อำเภอสังคม ส่วนที่จังหวัดบึงกาฬจะพบที่วัดอาฮง อำเภอเมืองบึงกาฬ
ผู้ศึกษาปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคหลายกลุ่ม พยายามอธิบายที่มาของปรากฏการณ์นี้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น คาดว่าอาจจะเป็นก๊าซมีเทน-ไนโตรเจน หรือ ฟอสฟอรัส ที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ใต้น้ำ
นอกจากประเทศไทยแล้ว ที่อื่น ๆ ในโลกก็มีรายงานการพบปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เช่นกัน เช่นที่ มลรัฐมิสซูรี และ มลรัฐเท็กซัส ของสหรัฐอเมริกา โดยเรียกกันว่า แสงมาร์ฟา (Marfa lights) นอกจากนี้ยังพบที่เมืองเจดด้าห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ริมฝั่งทะเลแดง
ลักษณะ
การเกิดบั้งไฟพญานาค ลูกไฟจะเอนเข้าหาฝั่ง หากขึ้นกลางแม่น้ำโขง แต่หากขึ้นริมฝั่ง ลูกไฟจะเอนออกไปกลางโขง ลักษณะเป็นดวงไฟขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ ไปจนถึงขนาดเท่าไข่ห่านหรือผลส้ม มีสีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น หรือสีแดงทับทิม ไม่มีควัน ไม่มีเขม่า ไม่มีเปลว ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น
โดยบั้งไฟพญานาคจะเริ่มปรากฏจากเหนือผิวน้ำ ตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร พุ่งสูงขึ้นไปประมาณระดับ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที แล้วจะดับหายวับไปในอากาศ ทั้งๆ ที่ดวงไฟยังโตอยู่ มิได้หรี่เล็กลงแล้วค่อยๆ ดับ และไม่มีลักษณะโค้งตกลงมาเหมือนดอกไม้ไฟ ซึ่งปรากฏการณ์การเกิดบั้งไฟพญานาคนี้ได้มีนักวิทยาศาสตร์ศึกษาวิจัยหลายต่อหลายท่าน แต่ก็ยังไม่พบข้อสรุปที่ชัดเจน[

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น